ประวัติคณะ

Fast forward

                  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เดิมชื่อว่า "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล" ต่อมา เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2548 ได้มีการการสถาปนาขึ้นในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ประกอบด้วย วิทยาเขตเดิม 5 แห่ง คือ วิทยาเขตเทเวศน์ วิทยาเขตโชติเวช วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ วิทยาเขตพระนครเหนือ และวิทยาเขตพาณิชยการพระนคร จากการสถาปนาในครั้งนั้นจึงทำให้เกิด   "คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์"  ขึ้น ในปี พ.ศ. 2549
                  คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ ซึ่งถือเป็น 1 ใน 9 คณะ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ประกอบด้วย 3 สาขาวิชาชีพ ประกอบด้วย สาขาวิชาการท่องเที่ยว สาขาวิชาการโรงแรม และสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล นอกจากนั้นยังมีอีก 1 สาขาวิชาการ ซึ่งมาจากการรวมอาจารย์ผู้สอนในวิชาศึกษาทั่วไปทั้งห้าวิทยาเขตเดิม มาจัดตั้งเป็น สาขาวิชาศึกษาทั่วไป ในสังกัดคณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ 
                  ต่อมาในปี พ.ศ. 2550  ได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก "คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์" เป็น "คณะศิลปศาสตร์" มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนทั้งสิ้น 4 สาขาวิชาชีพ  ประกอบด้วย สาขาวิชาการท่องเที่ยว สาขาวิชาการโรงแรม สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และสาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์ และอีก 1 สาขาวิชาการ คือ สาขาวิชาศึกษาทั่วไป โดยจัดการเรียนการสอนให้กับทุกคณะในมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย 4 กลุ่มวิชา ได้แก่ กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ กลุ่มวิชาพละศึกษาและนันนนาการ กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กลุ่มวิชาภาษาไทย


                  คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ตั้งอยู่อาคาร 1, 3 และ 4 ในบริเวณวิทยาเขตพณิชยการพระนคร (เดิม) ให้บริการการสอนด้านวิชาด้านศิลปศาสตร์แก่นักศึกษาทุกคณะในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จุดเริ่มต้นของคณะศิลปศาสตร์ อาจถือได้ว่ามีมายาวนานซึ่งเริ่มต้น ณ วิทยาเขตพณิชยการพระนคร โดยเริ่มจากการเป็น “โรงเรียนประถมศึกษาพิเศษภาษาอังกฤษวัดสัมพันธวงศ์” ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2443 โดยแต่เดิมจัดหลักสูตรสอนเน้นหนักไปในทาง “ภาษาอังกฤษ” เท่านั้น ต่อมาได้เพิ่ม “วิชาเสมียนพนักงาน, วิชาค้าขาย และการบัญชี” ตามแผนการศึกษาใหม่ พ.ศ.2452 ของกระทรวงธรรมการ (ชื่อเดิมของกระทรวงศึกษาธิการ)

 

วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 ได้รับการยกระดับขึ้นเป็น “วิทยาลัยพณิชยการพระนคร” ในสังกัดกรมอาชีวศึกษา

วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2520 เปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาเขตพณิชยการพระนคร” ในสังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา

วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2532 วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา” เปลี่ยนชื่อเป็น “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล

วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล” ได้รับการสถาปนาและแบ่งออกเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 มหาวิทยาลัย และวิทยาเขตพณิชยการพระนคร เข้าสังกัดใน “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการดำเนินงานโครงการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์

วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ เป็นคณะหนึ่งในแปด ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ต่อมาในปี พ.ศ. 2550  ได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก "คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์" เป็น "คณะศิลปศาสตร์"

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 สภามหาวิทยาลัยมีคำสั่งแต่งตั้งให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ ร.ต. วัชระ โพธิสรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศิลปศาสตร์ 

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 สภามหาวิทยาลัยมีคำสั่งแต่งตั้งให้ นายภคพนธ์ ศาลาทอง ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศิลปศาสตร์

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 สภามหาวิทยาลัยมีคำสั่งแต่งตั้งให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ ร.ต. วัชระ โพธิสรณ์ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศิลปศาสตร์

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 สภามหาวิทยาลัยมีคำสั่งแต่งตั้งให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อำนาจ เอี่ยมสำอางค์  ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศิลปศาสตร์ 

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 สภามหาวิทยาลัยมีคำสั่งแต่งตั้งให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยุทธภูมิ สุวรรณเวช ให้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศิลปศาสตร์ คนปัจจุบัน

 

คณะศิลปศาสตร์ เปิดสอน 4 สาขาวิชา ได้แก่

  • สาขาวิชาการท่องเที่ยว (Tourism)
  • สาขาวิชาการโรงแรม (Hospitality)
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล (English for International Communication)
  • สาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์ (Arts Program in Applied Thai)

นอกจากนั้น  ยังสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ให้แก่คณะทุกคณะในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

  • สาขาวิชาศึกษาทั่วไป แบ่งเป็น 4 กลุ่ม  ได้แก่
    • กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ
    • กลุ่มวิชาพลศึกษาและนันทนาการ
    • กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    • กลุ่มวิชาภาษาไทย

 

ดอกไม้ประจำคณะศิลปศาสตร์    คือ   ดอกแก้ว

ดอกแก้ว