ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายงานเทคโนโลยีดิจิทัลทางการศึกษา

บทความตอนที่ ๑ หมิ่นประมาท นินทา กล่าวหา ใส่ความ (ลับหลัง)

ปากปราศรัยน้ำใจเชือดคอ / Mouth, throat cut gracious speech

บทความตอนที่ 1   หมิ่นประมาท นินทา กล่าวหา ใส่ความ (ลับหลัง)

มาตรา 326  ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

“คำว่า ” ใส่ความ ” คือ เอาความไปใส่เขา ซึ่งอาจเท็จหรือจริงก็ได้ ไม่ใช่จริงไม่ผิด เท็จจึงผิด หลักศาลจึงว่า ” ยิ่งจริง ยิ่งผิด ”

วิธีใส่ความคือ แสดงข้อความให้ปรากฏด้วยวิธีใดๆก็ได้ เช่น พูด เขียน วาด ใช้น้ำเสียง บอกใบ้ ทำกริยาท่าทาง ฯ ถือเป็นการใส่ความหมด

ความผิดฐานหมิ่นประมาท ไม่จำเป็นต้องมีผลเสียหายเกิดขึ้นจริงจากการใส่ความ แค่ “ความที่ใส่” น่าจะทำให้เขาเสียชื่อเสียง ก็เป็นความผิด ”

มาตรา 328   ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษรกระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

มาตรา 333  ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้

ปล. ตามประมวลกฎหมายอาญา” มาตรา ๙๖ ถ้าเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ” ต้องรีบนะ!

มิเช่นนั้นคนชั่วจะลอยนวล

นอกจากใส่ความกระทงหนึ่งแล้ว หากพิมพ์ข้อความหมิ่นประมาทลงใน FACEBOOK, MSN, LINE อาจมีความผิดตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  พ.ศ.  ๒๕๕๐ ได้อีกกระทงหนึ่ง

“หากมีคนดูหมิ่นซึ่งหน้าผู้เสียหาย จะทำอย่างไรดี ?”

มาตรา 393 ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

“ถ้ามีหมิ่นประมาททางแพ่ง ก็ต้องเรียกค่าสินไหมทดแทนกันไป”

มาตรา 423  ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความอันฝ่าฝืน ต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่น ก็ดีหรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้ หรือทางเจริญของเขาโดย ประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อ ความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อ ความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้

เอาง่าย ๆ

  1. ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย
  2. ซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง
  3. ต่อบุคคลที่สาม
  4. ผู้กระทำรู้หรือควรจะรู้ว่าไม่จริง
  5. เป็นที่เสียหายแก่
    • ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่น
    • ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่น

สุดท้ายนี้ !  หากใครถูกดูหมิ่นประมาท ไม่ว่าจะลับหลัง หรือซึ่งหน้า แล้วไม่รู้จะลงโทษผู้กระทำความผิดได้อย่างไร ขอให้กฎหมายมอบความเป็นธรรมแก่ทุกคนที่ได้รับความเสียหาย

ที่มา : ประมวลกฎหมายอาญา
           ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์